top of page
windows-skyscraper-business-office.jpg

CERTIFICATION

บริการให้การรับรอง

องค์กรที่ผ่านมาตรฐานระดับสากลของแนวการปฏิบัติที่ส่งเสริมสุขสภาพ (Wellness)

Wellness CNB Centre พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลของแนวการปฏิบัติที่ได้ผลเพื่อช่วยองค์กรได้ดูแลส่งเสริมสุขสภาพ (Wellness) ของบุคลากรอย่างเป็นองค์รวมครบถ้วนทุกด้าน ทั้งมิติกาย ใจ จิต เศรษฐกิจ สังคม และการจัดการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งให้การรับรอง (Certification) สำหรับองค์กรที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและสามารถใช้ตราสัญลักษณ์องค์กรสุขสภาพ (Wellness CNB)

BENEFITS

01

ได้รับการประเมินศักยภาพองค์กรด้านการสร้างสุขสภาพ (Wellness) ให้แก่บุคลากร

03

ได้รับเครื่องมือในการพัฒนาส่งเสริมสุขสภาพ (Wellness) ของบุคลากรที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที

05

ได้สร้างเครือข่ายกับองค์กรที่ร่วมโครงการ ขยายมุมมองการจัดการภายในองค์กรเพื่อสร้างสุขสภาพ (Wellness) ที่ครบถ้วนและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

07

ได้โอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเพื่อการสร้างชาติ (International Conference on Nation-Building : ICNB)

09

ได้รับตราสัญลักษณ์รับรองการเป็นองค์กรสุขสภาพ (Wellness CNB)

11

มีโอกาสได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลเกียรติยศองค์กรต้นแบบดีเด่น Wellness CNB

02

ได้รับการอบรมแนวคิดแนวทางการปฏิบัติเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาสุขสภาพ (Wellness) ของบุคลากร

04

ได้รับคำปรึกษาและแนะนำแนวทางเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่องค์กรต้นแบบที่มีสุขสภาพ (Wellness) ที่ดี

06

ได้เข้าร่วมเป็นภาคีกับสถาบันการสร้างชาติ เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม สร้างชาติอย่างต่อเนื่อง

08

ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเข้าร่วมโครงการ

10

ได้เข้าร่วมเป็นภาคีกับหน่วยงานระดับนานาชาติ (International Society of Wellness : ISW)

simone-hutsch-_wpce-AsLxk-unsplashcrop.j

แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาสุขสภาพขององค์กรเพื่อการสร้างชาติ (Wellness CNB)

แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาสุขสภาพขององค์กรเพื่อการสร้างชาติ (Wellness CNB) โดยศูนย์พัฒนาดัชนี  (Index Development Centre) สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาร่วมกับสถาบันการสร้างชาติ (Nation-Building Institute) มุ่งให้เกิดการสร้างสุขสภาพ (Wellness) แก่บุคลากรในหน่วยงานอย่างครบถ้วนทุกมิติตาม Wellness Taxonomy ของสถาบันการสร้างชาติดังนี้ มีใช้ในหลักสูตรผู้นำการประกอบการ Wellness เพื่อการสร้างชาติ (นสช. Wellness) โดยแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขสภาพให้เกิดกับบุคลากรในองค์กรนี้  แบ่งออกเป็น 9 หมวด ตามลักษณะการดำเนินการ ดังนี้

หมวดที่ 1

กำหนดนโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรที่ส่งเสริมการสร้างสุขสภาพ (Wellness) ที่ดีของบุคลากร

หมวดที่ 4

การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขสภาพ (Wellness) ภายในองค์กร

หมวดที่ 7

การพัฒนากระบวนการภายในองค์กรที่ส่งเสริมสุขสภาพ (Wellness) บุคลากร

หมวดที่ 2

การให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับสุขสภาพ (Wellness) และการดูแลตัวเองที่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้แก่บุคลากรในองค์กร

หมวดที่ 5

การสร้างแรงจูงใจ วัฒนธรรม ค่านิยมขององค์กรเพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมกับการสร้างเสริมสุขสภาพ (Wellness)

หมวดที่ 8

การจัดโครงสร้างภายในองค์กรให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขสภาพ (Wellness)

หมวดที่ 3

การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถจัดการตัวเองเพื่อให้เกิดสุขสภาพ (Wellness) ที่ดี

หมวดที่ 6

การสนับสนุนทรัพยากรให้แก่บุคลากรในการทำกิจกรรมที่สร้างสุขสภาพ (Wellness) ที่ดี

หมวดที่ 9

การสร้างความเป็นสถาบันเพื่อสร้างความต่อเนื่องยั่งยืน (Institutionalization)ด้านสุขสภาพ (Wellness) ภายในองค์กร

แนวปฏิบัติ 9 หมวด

แนวปฏิบัติ 9 หมวด มีพื้นฐานในการมุ่งพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้เกิดสุขสภาพ (Wellness) ที่ดีรอบด้าน ช่วยสร้างผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นให้กับองค์กร โดยองค์กรที่เข้าร่วมโครงการจะพิจารณาเลือกว่าองค์กรมีความสนใจเข้าร่วมดำเนินการในกลุ่มใด (Division) แบ่งเป็น 5 ระดับ (Level) ได้แก่ 1A 2A 3A 4A 5A ซึ่งแต่ละระดับจะมีขอบเขตของการดำเนินการตามหมวดของการดำเนินงานที่แตกต่างกัน

การพัฒนาในแต่ละระดับ องค์กรที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินการตามแนวปฏิบัติระดับนั้น เช่น หากเลือกดำเนินการระดับ 3A จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติ 5 หมวด (หมวดที่ 1-5) ได้แก่ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายและข้อบังคับ  ข้อมูลความรู้ของบุคลากร การพัฒนาขีดความสามารถ การจัดการสภาพแวดล้อมภายในองค์กร และแรงจูงใจ วัฒนธรรม ค่านิยมของบุคลากร

การพิจารณาในคะแนนเพื่อขอรับรางวัลประกาศนียบัตรหรือรางวัลองค์กรดีเด่น (Wellness CNB AWARD)

สำหรับการพิจารณาในคะแนนเพื่อขอรับรางวัลประกาศนียบัตรหรือรางวัลองค์กรดีเด่น (Wellness CNB AWARD) จะใช้เกณฑ์พิจารณาตามข้อปฏิบัติในหมวดต่าง ๆ โดยที่การดำเนินงานจริงขององค์กรพึงมีหลักฐานที่สามารถยืนยันว่าองค์กรได้ดำเนินการตามข้อปฏิบัติที่ระบุไว้จริง หลักฐานดังกล่าวครอบคลุมตัวอย่างต่อไปนี้

เอกสารบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน

แบบประเมินของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

การเดินสำรวจภายในองค์กร

ภาพถ่ายกิจกรรม

บันทึกการเก็บข้อมูลของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

เอกสารจากองค์กรหรือบุคคลภายนอกที่เชื่อถือได้ เช่น ใบรับรอง ใบสั่งซื้อ เอกสารการติดต่อ เป็นต้น

bottom of page